วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาจังหวัดปทุมธานี

ปทุมธานีเดิมชื่อ "เมืองสามโคก" เป็นเมืองที่ตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินของ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อปี พ.ศ. 2175 มาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญที่ถูกอพยพต้อนมาจากเมืองเมาะตะมะ ไปทำมาหากินที่บ้าน สามโคกนี้ใกล้กับวัดสิงห์ เขตอำเภอสามโคกปัจจุบันbutterfly3.jpg (3236 bytes) ในปัจจุบันยังมีโคกดินโบราณสำหรับเผาโอ่งอ่างของชาวมอญในสมัยโบราณเหลืออยู่เพียง 2 โคก การอพยพชาวมอญมาอยู่ที่เมืองนี้ยังมีใน สมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ. 2317) และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2358) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระองค์ได้เสด็จประพาส เมืองสามโคก ได้มีพสกนิกรจำนวนมากสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ นำดอกบัวหลวงขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอย่างเนืองแน่น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองใหม่ เพื่อให้เป็น สิริมงคลว่า "ประทุมธานี" และต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนการสะกดนาม จังหวัดเป็น "ปทุมธานี"

เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ของฝากเมืองปทุมธานี ที่ระลึก
จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมีการทำนากันมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งปลูกพืชผัก ส่งตลาดสดในตัวเมือง และตลาดกลางขนาดใหญ่ระดับประเทศสองแห่ง คือ ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดไท เป็นแหล่งรวมผลไม้หลายชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน มะม่วง กล้วย ทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย มังคุด รวมทั้งผลผลิตจากพืชธรรมชาติ เช่น ลูกตาลและฝักบัว 

นอกจากผลิตผลเกษตรแล้ว ที่ตลาดเทศบาลและตลาดริมน้ำวัดศาลเจ้ามีอาหารอร่อยของปทุมธานีให้เลือกซื้อหารับประทานมากมาย ที่ขึ้นชื่อได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว ขนมกุยช่าย ไส้ผัก ไส้เผือก ไส้หน่อไม้ หมูฝอย เนื้อฝอย ขนมไทยต่างๆ ซึ่งซื้อเป็นของฝากได้ 

ส่วนอาหารยอดนิยมที่ผู้มาเยือนปทุมธานี ไม่พลาดที่จะต้องลองชิม คือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะริมเส้นทางรังสิต-นครนายก ส่วนร้านอาหารในตัวเมืองมักมีอาหารจานเด่นจำพวก กุ้งเต้น ปลาเผา 

นอกจากนี้ตามชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ มีการผลิตสินค้าหัตถกรรมซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โอ่งสามโคกขนาดเล็กทำเป็นของที่ระลึก ดอกบัวประดิษฐ์ และกระเป๋าหนัง
สินค้า OTOP ปทุมธานี
 ประวัติความเป็นมา
เป็นเห็ดเมืองหนาว ทางบริษัทได้นำมาเพาะพันธุ์ เป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว สมัยก่อน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาสูง จึงหาวิธีการนำมาเพาะทดลองในประเทศไทย โดยจำลองบรรยากาศเป็นห้องเย็นสำหรับการเพาะเลี้ยง
 กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. ผสมวัตถุดิบ
2. ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูง
3. เขี่ยเชื้อ
4. เลี้ยงเส้นใย
5. เปิดดอก
6. เพาะเลี้ยง
7. เก็บเกี่ยว
8. คัดบรรจุ
 จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เป็นเห็ดเมืองหนาว เพาะเลี้ยงในห้องเย็น มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีสารพิษเจือปน

อิงนที รีสอร์ท

ที่พักปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ปทุมธานี อิงนที รีสอร์ท เดอะไพน์ รีสอร์ท ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ เดอะ พาร์ค ไดร์ฟ-ทรู เช็คอิน รีสอร์ท บางกอก รีสอร์ท รังสิต เอเชีย แอร์พอร์ต บางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท,ปทุมธานี เพลส โฮเต็ล มาเจสติก วิลล์ เอ็นสิริ รีสอร์ท แอนด์ โฮเทลที่พักปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ปทุมธานี อิงนที รีสอร์ท เดอะไพน์ รีสอร์ท ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ เดอะ พาร์ค ไดร์ฟ-ทรู เช็คอิน รีสอร์ท บางกอก รีสอร์ท รังสิต เอเชีย แอร์พอร์ต บางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท,ปทุมธานี เพลส โฮเต็ล มาเจสติก วิลล์ เอ็นสิริ รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล

รีสอร์ท
อิงนที รีสอร์ท ที่พักแสนร่มรื่นใกล้ชิดธรรมชาติ แวดล้อมเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ภายในห้องกว้างขวาง แยกสัดส่วนระหว่างห้องนอน


ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท 


ที่พักปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ปทุมธานี อิงนที รีสอร์ท เดอะไพน์ รีสอร์ท ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ เดอะ พาร์ค ไดร์ฟ-ทรู เช็คอิน รีสอร์ท บางกอก รีสอร์ท รังสิต เอเชีย แอร์พอร์ต บางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท,ปทุมธานี เพลส โฮเต็ล มาเจสติก วิลล์ เอ็นสิริ รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล


ที่พักปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ปทุมธานี อิงนที รีสอร์ท เดอะไพน์ รีสอร์ท ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ เดอะ พาร์ค ไดร์ฟ-ทรู เช็คอิน รีสอร์ท บางกอก รีสอร์ท รังสิต เอเชีย แอร์พอร์ต บางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท,ปทุมธานี เพลส โฮเต็ล มาเจสติก วิลล์ เอ็นสิริ รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล

ห้องพัก
ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ ปทุมธานี เป็นสนามกอล์ฟคลองหลวง ปทุมธานี สวรรค์ของ นักกอล์ฟและนักท่องเที่ยว










ณ.หออัครศิลปิน
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเอกทัคคะทางศิลปะหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านการดนตรี และการพระราชนิพนธ์เพลง ด้านทัศนศิลป์ และด้านวรรณศิลป์ ฯลฯ จนเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงพระปรีชาสามารถอันหาที่เปรียบมิได้ในหมู่พสกนิกรและศิลปินทั่วโลก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้ทูลเกล้าถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ” หรือ “ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน” แด่พระองค์ท่านเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 และนี่คือที่มาของหออัครศิลปิน แหล่งการเรียนรู้และขุมทรัพย์ทางปัญญา
         หออัครศิลปินตั้งอยู่ที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ที่สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี โดยใช้ที่ราชพัสดุในความดูแลของกรมศิลปากร บนพื้นที่ 5 ไร่ เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบไทยร่วมสมัย ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ตัวอาคารประกอบด้วยอาคารหลัก ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติและผลงานศิลปะฝีพระหัตถ์ขององค์อัครศิลปิน รายล้อมด้วยอาคารรูปตัวยู นิทรรศการประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติภายใต้แนวคิดอัครศิลปิน รายล้อมด้วยศิลปินแห่งชาติที่พระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์
         หออัครศิลปินเป็นอาคาร 3 ชั้น แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ประกอบด้วยห้องบริหาร 1 ห้อง ห้องนิทรรศการชั่วคราว 1 ห้อง ห้องนิทรรศการถาวร 5 ห้อง จัดแสดงนิทรรศการพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมของอัครศิลปิน 2 ห้อง และนิทรรศการเผยแพร่ประวัติผลงานของศิลปินแห่งชาติ 3 ห้อง โดยใช้ชื่อที่ทันสมัย เช่น วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย วีดิโอ ซีดี ภาพดูราแทน ไดโอรามา คาราโอเกะ ตู้ถ่ายสติกเกอร์ และสไลด์มัลติวิชัน
         ห้องที่สำคัญที่สุดคือ ห้องอัครศิลปินซึ่งมีอยู่ 3 ห้อง บนชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ห้องชั้นที่ 2 ประดิษฐานบุษบกไม้ประดับกระจก ปิดทองตรงกึ่งกลางห้อง ภายในบุษบกประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 จำลองบนพานแว่นฟ้า เป็นเสมือนตัวแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฐานโดยรอบมีสื่อวีดิทัศน์แสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจจำนวน 9 ตอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส กล่าวคือ เมื่อผู้เข้าชมคุกเข่าตามจุดต่าง ๆ เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ ฉากหลังเป็นจิตรกรรมฝาผนังเรื่องไตรภูมิ ด้านซ้ายและด้านขวาเป็นกระจกแกะลายเทพชุมชุม มีความหมายว่า เหล่าเทวดาต่างสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเปรียบประดุจสมมติเทพ
แผนที่

วัดจันทน์กะพ้อ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑ บ้านตากแดด หมู่ที่ ๓ ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต

มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ๓ งาน ๕๙ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๖๗๖๖ อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับหมู่บ้านตากแดด ทิศใต้ติดต่อกับถนนทางเข้าวัด ทิศตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนสายสามโคก เสนา
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๒๓ เมตร ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ๒๕๑๔ คอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยประยุกต์ผสมรามัญ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ กุฎีสงฆ์จำนวน ๙ หลังสร้างด้วยไม้สัก ๕ หลัก คอนกรีตเสริมเหล็ก ๔ หลัง หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ วิหาร ศาลาท่าน้ำ ๓ หลัง ศาลาพรหมวิหาร ๔ ศาลาธรรมประสาธน์ ศาลาบำเพ็ญกุศล ณาปนสถาน หอระฆัง หอปริยัติธรรม ปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถเจดีย์ และเสาหงส์
ปูชนียวัตถุ มีเจดีย์อายุประมาณ ๑๐๐ ปี พระประธานในพระอุโบสถและเสาหงส์
วัดจันทน์กะพ้อ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ โดยชาวมอญ ที่อพยพมาจากเมืองเมาะตะมะภายใต้การนำของสมิงสอดเบา เรียกว่ามอญใหม่ (มอญที่มาครั้งพระยาเจ่งเรียกว่ามอญเก่า) อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อได้สร้างวัดขึ้นแล้วขนานนามว่า วัดโกว๊ะซึ่งเป็นภาษารามัญแปลว่า ต้นจันทน์กะพ้อชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า วัดกะพ้อต่อมาได้เปลื่ยนนามใหม่เป็น วัดจันทน์กะพ้อเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้ การบูรณะพัฒนาวัดได้เริ่มมาตั้งแต่เจ้าอาวาสรูปแรกจนถึงปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัด ตั้งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ วัดจันทน์กะพ้อ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕
การศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ ทั้งแผนกธรรมและบาลี (หยุดการเรียนชั่วคราว ปี ๒๕๕๑ ) โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนประชาบาลตั้งอยู่ ซึ่งพระธรรมเมธาภรณ์เจ้าอาวาสวัด
และเจ้าคณะจังหวัด(ธรรมยุต) ได้ให้การอุปการะตลอดมา และได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระศรีมงคลเมธี 
แผนที่

ณ.ศาลากลางเก่าจังหวัดปทุมธานี


ศาลากลางเก่า เมืองปทุมธานี ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับตลาดปทุมธานี ใกล้กับสำนักที่ดินจังหวัดปทุมธานี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีลักษณะเป็นเรือนปั้นหยาสีส้มสด ด้านหน้าก่อปูนเป็ นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ทาด้วยสีเหลืองทั้งหลัง มีลวดลายตกแต่งด้านหน้า ที่สวยงาม ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ สามารถเดินไปให้อาหารปลาในวัดหงษ์ปทุมาวาสซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก


แผนที่

วัดชินวรารามวรวิหาร

ณ.วัดชินวรารามวรวิหาร

วัดชินวราราม ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางแขยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
สังกัด : คณะสงฆ์มหานิกาย
วัดริมน้ำ : ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บรรยากาศเงียบสงบไม่พลุกพล่าน มีศาลาท่าน้ำ วังปลาหน้าวัดและซุ้มขายอาหารปลา
วัดชินวรารามวรวิหาร ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า อดีตเจ้าอาวาสราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดเก่าแก่และเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชั้นวรวิหาร เดิมชื่อวัดมะขามใต้ บริเวณรอบพระอารามกว้างขวาง ในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกที่งดงาม พร้อมคำบรรยายเป็นโคลงสี่สุภาพเกี่ยวกับเรื่องพระเจ้าสิบทิศ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น โบสถ์พระพุทธชินวร (หลวงพ่อทองคำ) สมัยสุโขทัย อัญเชิญมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2456 พระวิหารพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สร้างเมื่อ พ.ศ.2460 พระตำหนักชินวรสิริวัฒน์ ที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พ.ศ.2475 ตำหนักเจ้าแม่กวนอิม ริมน้ำ สร้างเมื่อ พ.ศ.2456 มณฑปใหม่ที่สร้างขึ้นจากโครงสร้างเดิมที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2472 
ศาลาน้ำ และ รอยพระพุทธบาท
แผนที่

ตลาดน้ำปทุมธานี



ตลาดน้ำปทุมธานีเป็นตลาดที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และก็อยู่ติดกับสะพานปทุม1 
ตรงข้ามกันกับศาลากลางเก่าจังหวัดปทุมธานี ซึ่งตลาดนี้จะเน้นเรื่องอาหารเป็นหลัก เช่น
อาหารตามสั่ง อาหารใส่ถุงกลับไปกินที่บ้าน แกง ผัดทอดต่างๆ ซึ่งจะมีราคาที่ถูกแบบชาวบ้านๆทำเอง
รวมไปถึงพืชผักสวนครัวต่างๆ ตลาดแห่งนี้ก็มีหมดครบเครื่อง แนะนำเลยครับสำหรับอยากหาวัสถุดิบนำกลับไปทำกินเองที่บ้าน ให้นึกถึงตลาดปทุมแห่งนี้เลยครับผม


แผนที่

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

ณ.ก๋วยเตี๋ยวกระดูกหมูป้าเล็ก ชื่อดังย่าน ม.รังสิต


            ก๋วยเตี๋ยวกระดูกหมู ป้าเล็ก
       วันนี้ผมจะมานำเสนอร้านอาหารสุดแสนจะบรรยายเรื่องรสชาติอาจจะถูกปากถูกคอขอใครหลายๆ   คนแนะนำให้มาโดนกันได้เลยครับกระดูกหมูนี่พิเศษกว่าอื่นใด เพราะป้าเล็กใช้ไม้ที่ปลูกเองจากหลังบ้านมานำเป็นฝืนเพื่อที่จะตุ๋นหมูออกมาให้ได้เนื้อที่เปื่อยเหมือนกับกินน้ำเปล่าละลายในปากเลยก็ว่าได้อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญแล้วเป็นจุดขายของร้าน นั้นก็คือการได้พูดจากับป้าเล็กนั้นเองเพราะการคุยของป้าเล็กนั้นไม่เหมือนกันคนทั่วไปเพราะว่าป้าเล็กจะพูดจากับเราเหมือนกันลูกหลานที่ออกไปเล่นตอนเย็นแล้วป้าเล็กบอกให้เข้าบ้านก่อนค่ำนะแล้วเรานั้นไม่ทตามข้อตกลงคือเข้าบ้านเกินเวลาที่กำหนดก็จะโดนป้าเล็กนั้นเทศ หรือ โมโหใส่นั้นเอง แต่ลึกลงไปในกลางจิตใจของป้าเล็กแล้วนั้นการที่เค้าได้พูดกำลังแบบโมโหก็คือเค้านั้น   รักเรานั้นเอง 

เชิญชวนให้เพื่อนๆพ่อแม่พี่น้อง มารับประทานกันได้ครับ ไปชมคลิปสัมภาษณ์ป้าเล็กกันเลยครับ
ปล.ถ้าใครไปไม่ถูกเรามีคลิปการนำทางไปยังร้านครับผมดูได้ข้างล่างนี้เลยครับ


คลิปสัมภาษณ์ป้าเล็ก  














วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ณ.ศาลากลาง


                   ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี 
อยู่ในตัวเมืองปทุม ตรงข้ามกับโลตัสปทุมธานี ใกล้ๆกันกับโรงเรียนปทุมวิลัย และโรงพยาบาลปทุมธานีเป็นที่สวยงาม ทำด้วยความตั้งใจอย่างมาก เหมาะสำหรับถ่ายรูป สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดปทุมธานี ถ้าไม่ได้มีโอกาศมาสัมผัสศาลากลางนี่ถือว่าพลาดมากอย่างแรง อีกทั้งยังไปเห็นการทำงานของข้าราชการของจังหวัดปทุมธานีอีกด้วยไงหละครับน่าไปมากเลยใช่ไหมครับสำหรับท่านที่จะไปศาลากลางแต่ไปไม่ถูกไม่ต้องกังวลเพราะทางไปเที่ยวกันไหมๆๆ นั้น ได้นำแผนที่เดินทางมาให้ท่านที่กำลังจะไปด้วยนะครับ เชิญชมเลยครับผม